ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรรักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่

ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata
วงศ์ : Acanthaceae
ส่วนที่ใช้ : ใบ หรือส่วนเหนือดิน
สารสำคัญ : สารกลุ่มไดเทอปีนแลคโตนเช่น แอนโดรกราโฟไลด์ นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ โดยฤทธิ์ที่พบจากการศึกษาในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไข้ และต้านอนุมูลอิสระ Read the rest of this entry »

น้ำตะไคร้

น้ำตะไคร้

ตะไคร้ ถ้าไม่ใช้สด อาจทำโดยนำตะไคร้ทั้งต้น และใบล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นๆ นำเข้าตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นานประมาณ 2 ชั่วโมง ผึ่งไว้ให้เย็น บรรจุใส่ถุงปิดมิดชิด เวลาจะใช้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำ ถ้าไม่อบ อาจนำมาคั่วกับกระทะ จนมีกลิ่นหอม นำไปต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปปรุงรส Read the rest of this entry »

การใช้หน่อไม้น้ำรักษา โรคเบาหวาน

การใช้หน่อไม้น้ำรักษา โรคเบาหวาน

หน่อไม้น้ำหรือกะเป๊กนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว ซึ่งเป็นที่นิยมแก่ผู้บริโภค หน่อไม้น้ำยังถือเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งคุณแสงทองได้แนะนำวิธีการนำหน่อไม้น้ำมาช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน วิธีการต่างๆ มีดังนี้ Read the rest of this entry »

ต้นรางจืด แก้พิษสารเคมี ยาฆ่าแมลง

ต้นรางจืด แก้พิษสารเคมี ยาฆ่าแมลง

รางจืด เป็นพืชสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา หรือถุงชาในแพ็กเกจสวยหรูดูดี และยังทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป ซึ่งเป็นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ราคาย่อมเยา สามารถชงดื่มได้ทันที ใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้งหอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ที่มีความร้อนขึ้นเรื่อยๆ Read the rest of this entry »

ส้มป่อย แก้ไอ ขับเสมหะ

“ส้มป่อย” แก้ไอ ขับเสมหะ

ส้มป่อยเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลม เป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลายกิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อนเถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบประกอบยาว 6 – 16 ซม. ก้านใบยาว 1.5 – 5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5-10 คู่ มีใบย่อย 10-35 คู่ ในแต่ละก้าน ใบย่อยมีสีเขียวขนาดเล็ก ดอก จะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว ผล เป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10 – 15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายในขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด Read the rest of this entry »